ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนะแนว

จิตแพทย์


ลักษณะของงาน

    1. ตรวจร่างกาย วินิจฉัย สั่งยา รักษาอาการผิดปกติของผู้ป่วย หรือโดยการใช้เครื่องมือทดสอบที่เป็นมาตรฐาน ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์วิเคราะห์และแปรผลการทดสอบ
    2. สั่งตรวจทางเอกซเรย์หรือการทดสอบพิเศษ ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
    3. พิจารณาผลการตรวจและผลการทดสอบ วินิจฉัยความผิดปกติปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหรือแพทย์อื่น ตามความจำเป็น
    4. บำบัดรักษาอาการความผิดปกติทางจิต โดยให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา หรือการรักษาอย่างอื่น เช่น การรับประทานยา และแนะนำผู้ป่วยและญาติในเรื่องการปฏิบัติตนที่จำเป็นการบำบัดสำหรับรักษา
    5. เก็บรักษาบันทึกเกี่ยวกับผู้ป่วย และการรักษาพร้อมติดตามผล
    6. อาจประสานงานกับแพทย์ในโรงพยาบาลหรือสถาบันอื่น ๆ

คุณสมบัติของผู้ที่เหมาะสมกับอาชีพ 

    1. สำเร็จการศึกษาทางวิชาจิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์
    2. มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรคร้ายแรง
    3. มีความเข้าใจ อดทน อดกลั้น ที่จะยอมรับฟังปัญหาหรืออาการของผู้ป่วยที่อาจผิดปกติทางด้านจิตใจในลักษณะสาเหตุและอาการที่แตกต่างกัน
    4. มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตนมีคุณธรรมและจริยธรรมทางการแพทย์ ไม่ใช้ความรู้ทางจิตวิทยาไปหลอกลวงหรือทำลายผู้อื่น

         

ความก้าวหน้าในการทำงาน

   ผู้ประกอบอาชีพนี้ ที่มีความชำนาญ และประสบการณ์ จะได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งจนถึงระดับ ผู้บริหาร หากมีความสามารถในการบริหาร หรืออาจประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยเปิดคลินิกรับให้คำปรึกษาต่อผู้ที่มีปัญหาทางจิตทั่วไป นอกเวลาทำงานเป็นรายได้พิเศษ
   สำหรับผู้ที่มีความชำนาญและมีทีมงานที่มีความสามารถ รวมทั้งมีเงินทุนจำนวนมากก็สามารถเปิดโรงพยาบาล หรือสถานพักฟื้นในการบำบัดรักษา ผู้ป่วยทางจิตได้ 
   ในประเทศไทยผู้ที่ป่วยทางจิตมักไม่ค่อยนิยมที่จะพบจิตแพทย์โดยตรง แต่อาจจะจัดจ้าง จิตแพทย์ทำงานในลักษณะที่ปรึกษา
   จิตแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางอาจได้รับการว่าจ้างให้ไปทำงานในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลหลายแห่ง ทำให้ได้รับรายได้มากขึ้น หรืออาจจะเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางจิตวิทยาหรือทางจิตแพทย์

  • จิตแพทย์ต้องจบคณะแพทยศาสตร์ จากนั้นจึงไปต่อเฉพาะทางด้านจิตเวช

อัตราเงินเดือน

   อัตราเงินเดือนของจิตแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ เริ่มต้นที่ 50,000 บาทขึ้นไป เงินเดือนในโรงพยาบาลเอกชน เริ่มต้นที่ 120,000 - 300,000 บาท นอกจากผลตอบแทนในรูปเงินเดือนแล้ว รวมทั้งผลต้องอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่าง ๆ เช่น เงินฌาปนกิจ เงินโบนัส เป็นต้น
เงินเดือนเฉลี่ย : 80,000 บาท

แนวทางการศึกษาต่อเพื่อเข้าสู่อาชีพ





  • ในระดับมัธยมปลาย สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
  • คณะแพทยศาสตร์ สาขา จิตเวชศาสตร์
  • สำเร็จการศึกษาในคณะแพทย์ศาสตร์(ซึ่งต้องใช้เวลาเรียน 6 ปี) แล้วมาศึกษาต่อในสาขาจิตเวชศาสตร์
  • คณะแพทยศาสตร์ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นขั้นสูง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะแพทยศาสตร์ สาขาจิตเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะแพทยศาสตร์ สาขาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะแพทยศาสตร์ สาขาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจพบในการประกอบอาชีพ

   จิตแพทย์เป็นอาชีพที่ต้องระวังในคำพูดเป็นพิเศษ การให้คำปรึกษาจะต้องคำนึงถึงคำพูดที่จะไม่กระทบผู้ป่วย ถ้าหากคำพูดไปกระทบกระทั่งจิตใจผู้ป่วยไปแม้แต่นิดอาจทำให้เกิดปมในใจของผู้ป่วย อาจทำให้มีอาการซึมเศร้าเสียใจมากกว่าเดิม และ อาชีพนี้มีโอกาสเป็นโรคทางจิตเวชค่อนข้างสูงเช่นเดียวกันเนื่องจากพบปัญหามากมายของผู้ป่วยหลายๆ คน อาจทำให้นำปัญหาของผู้ป่วยมาเป็นปัญหาของตนเอง

แนวโน้มความต้องการอาชีพในอนาคต


   แนวโน้มในความต้องการอาชีพแพทย์ ในตลาดแรงงานมีความต้องการมากใน 16 ประเทศทั่วโลก อาทิ แคนาดา, อิสราเอล, ญี่ปุ่น เป็นต้น

คุณค่าของอาชีพต่อการพัฒนาสังคม


   การทำจิตบำบัด ทำให้คนไข้ดำเนินชีวิตได้เหมาะสมขึ้น โดยการพูดคุย ซักประวัติ เพื่อให้รู้กลไกและปัญหาเบื้องลึกในระดับจิตใต้สำนึก แล้วนำมาทำเป็นวงจรชีวิต แล้วใช้พฤติกรรมบำบัด ให้รู้ว่าชีวิตของเขามีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง ให้ปรับเปลี่ยนแนวความคิดนิดนึงเพราะเปลี่ยนมากไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เขายอมรับตัวเองได้มากขึ้น และจะดำเนินชีวิตได้เหมาะสมขึ้น


 Members 

ด.ญ. ปภาดา    จันทราภินันท์ ม.2/7 เลขที่ 23
ด.ญ. พิมพ์พิชชา ฉัตรปัญญาพร ม.2/7 เลขที่ 24
ด.ญ. วิภาวี     หามณี      ม.2/7 เลขที่ 27
ด.ญ. สุรัตน์วดี   พลวงษ์ศรี   ม.2/7 เลขที่ 28


 Credit 



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่มีผลต่อวัฒนธรรมไทย

อิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย ที่มีผลต่อวัฒนธรรมไทย 1.ด้านศาสนา ดินแดนไทยได้รับศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ทวารดี ในสมัยสุโขทัยรับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราช ทำให้พระพุทธศาสนาเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย 2. ด้านการเมืองการปกครอง   รับความเชื่อเรื่องสมมติเทพและกฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียมาเป็นแม่แบบของกฎหมาย  ในอดีตประเทศไทยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก การรับศาสนาพราหมณ์ทำให้มีความเชื่อเรื่องกษัตริย์เป็นสมมติเทพตามแนวความเชื่อของอินเดีย ต่อมาได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาผสมผสานเพื่อใช้ในการปกครอง พระมหากษัตริย์จึงเป็นธรรมราชาในเวลาต่อมา 3. ด้านอักษรศาสตร์   ประเทศไทยรับภาษาบาลี สันสฤตจากอินเดียมาใช้ ทำให้ประเทศประเทศไทย มีภาษาที่มีคำในภาษาบาลี สันสฤต ผสมอยู่มากมาย เช่น ชื่อของคนในประเทศไทย รับวรรณคดีอินเดีย เช่น มหากาพย์รามายณะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวรรณคดีของไทย รวมถึงวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา เช่น ชาดก 4.ด้านวิถีชีวิต   คนไทยได้รับวัฒนธรรมการแต่งกายและวัฒนธรรมการกินอาหารจากอารยธรรมอินเดีย เช่น รับปร

มรดกโลกในทวีปเอเชีย

แหล่งมรดกโลกในทวีปเอเชีย 1.ฮัมปิ | Hampi ประเทศอินเดีย เมืองฮัมปิ เมืองนี้ตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ (Karnataka)  เมืองฮัมปิแห่งนี้ของอินเดีย ประวัติศาสตร์จารึกเอาไว้ว่า ฮัมปิ คือเมืองหลวงสุดท้ายของอาณาจักรฮินดู ก่อนที่ทุกอย่างจะเสื่อมและล่มสลายไป ปัจจุบันองค์การยูเนสโกยกให้เมืองนี้กลายเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 ประดับประดาด้วยศิลปะ   แบบดราวิเดียน และวัดโบราณที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อสักการะเทพฮินดูมีตั้งแต่ราชรถหิน โยคะนรสิงห์ บ่อน้ำ รูปปั้นช้าง ม้า และเทพเจ้าต่างๆ สถูปสูง49เมตร ราชวังโบราณ และอีกมากมาย 2.ทัชมาฮาล | Taj Mahal ประเทศอินเดีย ทัชมาฮาลถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคใหม่  ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่ง แม่น้ำยมุนา  ในเมืองอาครา ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หลุมศพของ...ทาฮาล ซึ่งถูกสร้างด้วย หินอ่อน สีขาว  ศิลาแลง  ประดับลวดลายเครื่องและเครื่องประดับจากมิตรประเทศ ได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ทัชมา

ความหมายและที่มาของนาฏศิลป์

ความหมายและที่มาของนาฏศิลป์ ความหมาย นาฏศิลป์   หมายถึง  ศิลปะการฟ้อนรำ  หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีตงดงาม ให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม  ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ศิลปะของการร้องรำทำเพลง           การศึกษานาฏศิลป์ เป็นการศึกษาวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง นาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ อันประกอบด้วย จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์           นาฏศิลป์ นอกจากจะแสดงความเป็นอารยะของประเทศแล้ว ยังเป็นเสมือนแหล่งรวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ในการที่จะสร้างสรรค์ อนุรักษ์ และถ่ายทอดสืบต่อไป ความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ไทยมีกำเนิดมาจาก ๑.  การเลียนแบบธรรมชาติ  แบ่งเป็น ๓ ขั้น คือ           ขั้นต้น  เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ