ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความหมายและที่มาของนาฏศิลป์

ความหมายและที่มาของนาฏศิลป์





ความหมาย


นาฏศิลป์  หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ หรือความรู้แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยความประณีตงดงาม ให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม  ศิลปะประเภทนี้ต้องอาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ศิลปะของการร้องรำทำเพลง
          การศึกษานาฏศิลป์ เป็นการศึกษาวัฒนธรรมแขนงหนึ่ง นาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ อันประกอบด้วย จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์
          นาฏศิลป์ นอกจากจะแสดงความเป็นอารยะของประเทศแล้ว ยังเป็นเสมือนแหล่งรวมศิลปะและการแสดงหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ในการที่จะสร้างสรรค์ อนุรักษ์ และถ่ายทอดสืบต่อไป


ความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์ไทยมีกำเนิดมาจาก
๑.  การเลียนแบบธรรมชาติ  แบ่งเป็น ๓ ขั้น คือ
          ขั้นต้น  เกิดแต่วิสัยสัตว์ เมื่อเวทนาเสวยอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาก็ตาม ถ้าอารมณ์แรงกล้าไม่กลั้นไว้ได้ ก็แสดงออกมาให้เห็นปรากฏ เช่น เด็กทารกเมื่อพอใจ ก็หัวเราะตบมือ กระโดดโลดเต้น เมื่อไม่พอใจก็ร้องไห้ ดิ้นรน
          ขั้นต่อมา  เมื่อคนรู้ความหมายของกิริยาท่าทางมากขึ้น ก็ใช้กิริยาเหล่านั้นเป็นภาษาสื่อความหมาย ให้ผู้อื่นรู้ความรู้สึกและความประสงค์ เช่น ต้องการแสดงความเสน่หาก็ยิ้มแย้ม กรุ้มกริ่มชม้อยชม้ายชายตา หรือโกรธเคืองก็ทำหน้าตาถมึงทึง กระทืบ กระแทก
          ต่อมาอีกขั้นหนึ่ง  มีผู้ฉลาดเลือกเอากิริยาท่าทาง ซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ นั้นมาเรียบเรียงสอดคล้อง ติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้เห็นงาม จนเป็นที่ต้องตาติดใจคน

๒.  การเซ่นสรวงบูชา 
          มนุษย์แต่โบราณมามีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงมีการบูชา เซ่นสรวง เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทานพรให้ตนสมปรารถนา หรือขอให้ขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่ปรารถนาให้สิ้นไป การบูชาเซ่นสรวง มักถวายสิ่งที่ตนเห็นว่าดีหรือที่ตนพอใจ เช่น ข้าวปลาอาหาร ขนมหวาน ผลไม้ ดอกไม้ จนถึง การขับร้อง ฟ้อนรำ เพื่อให้สิ่งที่ตนเคารพบูชานั้นพอใจ  ต่อมามีการฟ้อนรำบำเรอกษัตริย์ด้วย ถือว่าเป็นสมมุติเทพที่ช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้  มีการฟ้อนรำรับขวัญขุนศึกนักรบผู้กล้าหาญ ที่มีชัยในการสงครามปราบข้าศึกศัตรู  ต่อมาการฟ้อนรำก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ลงมา กลายเป็นการฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป

๓.  การรับอารยธรรมของอินเดีย 
          เมื่อไทยมาอยู่ในสุวรรณภูมิใหม่ๆ นั้น มีชนชาติมอญ และชาติขอมเจริญรุ่งเรืองอยู่ก่อนแล้ว ชาติทั้งสองนั้นได้รับอารยธรรมของอินเดียไว้มากมายเป็นเวลานาน เมื่อไทยมาอยู่ในระหว่างชนชาติทั้งสองนี้ ก็มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด ไทยจึงพลอยได้รับอารยธรรมอินเดียไว้หลายด้าน เช่น ภาษา ประเพณี ตลอดจนศิลปการละคร ได้แก่ ระบำ ละครและโขน




CR : https://guru.sanook.com/4062/

members :
ด.ญ. ปภาดา    จันทราภินันท์ ม.2/7 เลขที่ 23
ด.ญ. พิมพ์พิชชา ฉัตรปัญญาพร ม.2/7 เลขที่ 24
ด.ญ. วิภาวี     หามณี      ม.2/7 เลขที่ 27
ด.ญ. สุรัตน์วดี   พลวงษ์ศรี   ม.2/7 เลขที่ 28

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียที่มีผลต่อวัฒนธรรมไทย

อิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย ที่มีผลต่อวัฒนธรรมไทย 1.ด้านศาสนา ดินแดนไทยได้รับศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ทวารดี ในสมัยสุโขทัยรับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราช ทำให้พระพุทธศาสนาเป็นส่วนสำคัญในวิถีชีวิตของคนไทย 2. ด้านการเมืองการปกครอง   รับความเชื่อเรื่องสมมติเทพและกฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียมาเป็นแม่แบบของกฎหมาย  ในอดีตประเทศไทยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก การรับศาสนาพราหมณ์ทำให้มีความเชื่อเรื่องกษัตริย์เป็นสมมติเทพตามแนวความเชื่อของอินเดีย ต่อมาได้นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาผสมผสานเพื่อใช้ในการปกครอง พระมหากษัตริย์จึงเป็นธรรมราชาในเวลาต่อมา 3. ด้านอักษรศาสตร์   ประเทศไทยรับภาษาบาลี สันสฤตจากอินเดียมาใช้ ทำให้ประเทศประเทศไทย มีภาษาที่มีคำในภาษาบาลี สันสฤต ผสมอยู่มากมาย เช่น ชื่อของคนในประเทศไทย รับวรรณคดีอินเดีย เช่น มหากาพย์รามายณะ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวรรณคดีของไทย รวมถึงวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา เช่น ชาดก 4.ด้านวิถีชีวิต   คนไทยได้รับวัฒนธรรมการแต่งกายและวัฒนธรรมการกินอาหารจากอารยธรรมอินเดีย เช่น รับปร

มรดกโลกในทวีปเอเชีย

แหล่งมรดกโลกในทวีปเอเชีย 1.ฮัมปิ | Hampi ประเทศอินเดีย เมืองฮัมปิ เมืองนี้ตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ (Karnataka)  เมืองฮัมปิแห่งนี้ของอินเดีย ประวัติศาสตร์จารึกเอาไว้ว่า ฮัมปิ คือเมืองหลวงสุดท้ายของอาณาจักรฮินดู ก่อนที่ทุกอย่างจะเสื่อมและล่มสลายไป ปัจจุบันองค์การยูเนสโกยกให้เมืองนี้กลายเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 ประดับประดาด้วยศิลปะ   แบบดราวิเดียน และวัดโบราณที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อสักการะเทพฮินดูมีตั้งแต่ราชรถหิน โยคะนรสิงห์ บ่อน้ำ รูปปั้นช้าง ม้า และเทพเจ้าต่างๆ สถูปสูง49เมตร ราชวังโบราณ และอีกมากมาย 2.ทัชมาฮาล | Taj Mahal ประเทศอินเดีย ทัชมาฮาลถูกพิจารณาให้เป็นหนึ่งใน เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคใหม่  ทัชมาฮาลตั้งอยู่ในสวนริมฝั่ง แม่น้ำยมุนา  ในเมืองอาครา ส่วนที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หลุมศพของ...ทาฮาล ซึ่งถูกสร้างด้วย หินอ่อน สีขาว  ศิลาแลง  ประดับลวดลายเครื่องและเครื่องประดับจากมิตรประเทศ ได้รับคำรับรองว่าสร้างขึ้นด้วยสัดส่วนที่วิจิตรและงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร สูง 60 เมตร มีผู้สร้างและออกแบบร่วม 20,000 คน การก่อสร้างกินเวลานานถึง 22 ปี ทัชมา